เรื่องน่ารู้… 8 อาหารเพื่อสุขภาพที่ช่วยลดโรคความดันโลหิตสูงได้

page

อาหารการกินเพื่อสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องใส่ใจ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว และเกิดขึ้นกับร่างกายของเรา หรือ คนที่เรารัก ดังนั้นการใส่ใจในคุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิดที่ดีต่อตัวเรานั้นจึงเป็นเรื่องน่ารู้ที่เราไม่ควรพลาด เก็บเอาไว้เป็นความรู้และบอกต่อให้กับคนที่คุณรักได้ใส่ใจสุขภาพ รักษาให้ร่างกายดีจากภายใน ด้วยการเลือกอาการการกินที่ดี มีประโยชน์กันนะคะ

สำหรับในวันนี้เราจึงนำ 8 อาหารเพื่อสุขภาพที่สามารถช่วยลดโรคความดันโลหิตสูงได้มาฝากให้ได้ชมกันด้วย ซึ่งหลายคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าโรคนี้เป็นภัยเงียบที่คุกคามคนเราได้โดยที่ไม่รู้ตัว หากไม่ได้ทำการวัดความดันโลหิต ก็อาจจะไม่รู้ว่าเราเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคนี้เป็นทั้งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โดยเฉพาะโรคหัวใจที่เป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงได้จึงหมายถึงการสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาตได้นั่นเอง ในเมื่อทราบแล้วว่าโรคนี้น่ากลัวอย่างไร นอกจากการกินยาเฉพาะโรคแล้วนั้น เราก็ไปชมวิธีการรักษา ลดความดันด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยลดความดันโลหิตสูงกันดูดีกว่าค่ะ บางอย่างก็แค่เปลี่ยนนิสัยการกิน ก็ช่วยได้เยอะแล้วนะคะ

หางนม

skim milk

หางนม คือ ของเหลวที่เหลือจากการทำนมให้เป็นลิ่มนมและผ่านการกรอง เป็นผลพลอยได้จากการผลิตเคซีนหรือเนยแข็ง การดื่มนมพร่องมันเนยเป็นประจำวันละ 1 แก้ว ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารจำพวกวิตามินดีและแคลเซียม สารอาหาร 2 อย่างนี้นอกจากจะช่วยให้กระดูกแข็งแรงแล้วยังช่วยให้การทำงานของหลอดเลือดดีขึ้นอีกด้วย ช่วยลดความดันโลหิตได้ถึง 3-10% และนักวิจัยยังค้นพบอีกว่า การดื่มนมพร่องมันเนยอย่างน้อยวันละ 1 แก้ว สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจได้ถึง 15% เลยทีเดียว โปรตีนจากหางนมสามารถย่อยสลายและดูดซึมได้ง่าย

ผักโขม

Amaranth

ผักโขมเป็นผักใบเขียวที่อุดมไปด้วยใยอาหาร และแคลอรี่ต่ำอีกด้วย รวมไปถึงสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ เช่น โพแทสเซียม, โฟเลตและแมกนีเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยลดและรักษาระดับความดันโลหิตได้อย่างดีเยี่ยม ท่านสามารถรับประทานผักโขมร่วมกับมื้ออาหารของท่านได้ตลอดเวลา เนื่องจากผักโขมสามารถนำไปดัดแปลงเป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพได้หลายแบบเลยทีเดียว

เมล็ดทานตะวัน

sunflowerseeds

การรับประทานเมล็ดทานตะวันที่ดีนั้นควรเป็นเมล็ดทานตะวันแบบจืด ไม่ปรุงแต่งรสชาติหรือผสมเกลือ เมล็ดทานตะวันเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียมสูง เหมาะสำหรับเป็นของว่าง แต่ก็ควรระมัดระวังเรื่องการปรุงแต่งรสชาติที่อาจจะมีการใส่เกลือโซเดียมมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลเสียกับร่างกายได้

ถั่ว

nut

ถั่ว เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการหลากหลายตามชนิดของถั่ว ( เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วลิสง เป็นต้น ) ถั่วชนิดต่างๆจะอุดมไปด้วยแมกนีเซียมและโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการลดความดันโลหิต และและช่วยให้หัวใจทำงานดีขึ้น ท่านสามารถเพิ่มถั่วเข้าไปในเมนูอาหารที่ท่านชอบได้อย่างง่ายดาย และที่สำคัญถั่วเป็นอาหารที่ราคาไม่แพงอีกด้วย

มันฝรั่งอบ

baked-potato

มันฝรั่งเป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียมและโพแทสเซียม ซึ่งสารอาหารสองอย่างนี้ สามารถช่วยบำรุงสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือดของท่านได้ โพแทสเซียมสามารถช่วยปรับระดับความดันของโลหิต และรักษาความสมดุลของระบบการไหลเวียนโลหิตให้ดียิ่งขึ้นได้

กล้วย

banana

กล้วยเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม และการรับประทานกล้วยในมื้อเช้าสามารถช่วยให้ร่างกายสดชื่นและตื่นตัวดีขึ้นอีกด้วย ที่สำคัญ กล้วยสามารถดัดแปลงเป็นเมนูอาหารรสชาติดีได้อีกมากมาย เช่น บานาน่าทูโทน เป็นต้น

ถั่วเหลือง

soybean

ถั่วเหลืองเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียมและโพแทสเซียม ในบ้านเราถั่วเหลืองได้นำมาแปรรูปเป็นอาหารต่างๆมากมาย ที่สำคัญราคาถูกและหาซื้อได้ง่ายอีกต่างหาก การดื่มนมถั่วเหลือง 1 แก้วก่อนรับประทานอาหาร นอกจากจะเป็นสูตรลดน้ำหนักที่ดีแล้ว ยังส่งผลดีต่อระบบไหลเวียนโลหิตของท่านได้อีกด้วย

ดาร์คช็อคโกแลต

dark chocolate

ข่าวดีสำหรับคนชอบทานช็อคโกแลต – ผลการวิจัยพบว่าการรับประทานดาร์คช็อคโกแลตวันละ 30 แคลอรี่สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ภายใน 18 สัปดาห์ โดยไม่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวและไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ( การวิจัยนี้เผยแพร่ในนิตยสารของสมาคมการแพทย์อเมริกัน JAMA ) หากท่านเลือกรบประทานช็อคโกแลตได้อย่างถูกวิธี ก็สามารถส่งผลดีกับร่างกายได้อย่างเหลือเชื่อเลยทีเดียว

source

ติดตาม Jeab.com
Jeab.com มี LINE แล้วนะ
ติดตามเรื่องราวไลฟ์สไตล์ทันสมัยสำหรับผู้หญิงยุคดิจิตอล ได้ทุกวันผ่าน LINE ID @jeabdotcom
No Comments Yet

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.