7 เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ Fashion Week

เข้าสู่เดือนกันยายน เทศกาลประจำซีซั่นที่คนทั้งโลกต่างจับจ้องคือ Fashion Week ที่ 4 เมืองมหานครแห่งแฟชั่นอย่างนิวยอร์ก ลอนดอน มิลาน และปารีส กลายเป็นจุดหมายปลายทางของแฟชั่นนิสต้า ดารา เซเลป สื่อ บายเยอร์ และคนในวงการแฟชั่นทั่วโลกเดินทางเพื่อไปชมคอลเล็กชั่นใหม่ๆ ของแบรนด์ดัง ทำให้ Fashion Week เป็นมากกว่าสถานที่จัดแสดงเสื้อผ้า แต่อาจเรียกได้ว่าเป็นแหล่งกำเนิดเทรนด์ใหม่ของโลก แหล่งธุรกิจชั้นดี รวมถึงสถานที่แจ้งเกิดของทั้งดีไซเนอร์หน้าใหม่ นางแบบหน้าใหม่อีกด้วย เรามี 10 เรื่องเกี่ยวกับแฟชั่นวีคมานำเสนอ บางเรื่องอาจจะทำให้คุณต้องอึ้ง

1. Fashion Week ถูกจัดครั้งแรกเมื่อ 73 ปีก่อน 

Fashion Week ครั้งแรกถูกจัดขึ้นที่นิวยอร์กในปี 1943 โดย Eleanor Lambert ครั้งนั้นเรียกว่า “Press Week” ที่จะให้แฟชั่นดีไซเนอร์ชาวอเมริกันได้โชว์ผลงาน ซึ่งการจัดงานในครั้งนั้น อีกนัยหนึ่งก็เพื่อช่วงชิงความสนใจจากสื่อทั่วโลกให้มาชมผลงานของดีไซเนอร์ชาวอเมริกันแทน จากที่ก่อนหน้าเมืองแห่งแฟชั่นที่แท้จริงอยู่ที่ฝรั่งเศส แต่อยู่ในช่วงสงคราม

หลังจากการจัดงานครั้งนั้นประสบความสำเร็จ มหานครแห่งแฟชั่นอื่นๆ ก็เริ่มมีการจัดงานให้ดีไซเนอร์เอาผลงานมานำเสนอ ซึ่งมีมากจนใช้เวลาเป็นสัปดาห์ในการโชว์ คำว่า Fashion Week จึงถูกนำมาใช่อย่างถาวร โดยที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศสเริ่มโชว์ Haute Couture ในปี 1945 และทำเป็น Fashion Week อย่างเต็มรูปแบบในปี 1973 ส่วนที่มิลาน ประเทศอิตาลี เริ่มเมื่อปี 1958 และลอนดอน ประเทศอังกฤษ เริ่มเมื่อปี 1984

2. Fashion Week หลักของโลกจัดขึ้นที่ 4 เมืองใหญ่

อาจจะมีแฟชั่นวีคเกิดขึ้นทั่วโลก แต่อีเวนท์หลักของโลกถูกจัดขึ้นที่ 4 เมืองใหญ่ที่เรียกว่า “Big 4” โดยเริ่มจากนิวยอร์ก ลอนดอน มิลาน และปิดท้ายด้วยปารีส ซึ่งจะเป็นการจัดโชว์เสื้อผ้าของผู้หญิงที่เรียกว่า Ready-To-Wear Fashion Week นอกจากนี้ยังมีแฟชั่นวีคใหญ่ๆ อีกหลายช่วง ได้แก่ Menswear Fashion Week ที่จะแสดงเสื้อผ้าของผู้ชาย Paris Haute Couture Fashion Week ที่โชว์เฉพาะเสื้อผ้าโอต์กูตูร์ที่จัดเฉพาะปารีส โดยแต่ละอีเวนต์มี 2 ครั้งต่อปี

3. Fashion Week เป็นการแสดงผลงานคอลเล็กชั่นล่วงหน้า

หากคุณยังงงกับการนับซีซั่นของแฟชั่นโชว์ ฟังทางนี้ ปกติคอลเล็กชั่นหลักของแบรนด์ต่างๆ จะมี 2 คอลเล็กชั่นต่อปี ได้แก่ เสื้อผ้าสำหรับฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน (Spring/Summer)  และเสื้อผ้าสำหรับฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว (Fall/Winter) ซึ่งเวลาจัดแฟชั่นโชว์ มักจะจัดล่วงหน้าประมาณ 6 เดือน เพื่อจะได้มีเวลาจัดเตรียมการประชาสัมพันธ์ จัดเตรียมร้าน วางแผนการขาย ผลิตสต็อกสินค้า ฯลฯ เพราะฉะนั้นการจัดแฟชั่นโชว์จึงนำคอลเล็กชั่นที่จะวางขายอีก 6 เดือนข้างหน้ามาโชว์ให้ดูก่อน

ตารางแฟชั่นโชว์หลักๆ ของโลกจึงเป็นดังนี้

  • ต้นเดือนมกราคม  Menswear Fashion Week คอลเล็กชั่น Fall/Winter
  • ปลายเดือนมกราคม  Paris Haute Couture Fashion Week Spring/Summer (เนื่องจากเสื้อผ้า Haute Couture เป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม จึงไม่จำเป็นต้องมีการวางแผนการขายและโฆษณาประชาสัมพันธ์)
  • เดือนมีนาคม  Ready-To-Wear Fashion Week คอลเล็กชั่น Fall/Winter (เป็นช่วงที่คอลเล็กชั่น Spring/Summer ที่โชว์ไปก่อนหน้าวางขายในร้าน)
  • ต้นเดือนกรกฎาคม Menswear Fashion Week คอลเล็กชั่น Spring/Summer
  • ปลายเดือนกรกฎาคม Paris Haute Couture Fashion Week Fall/Winter
  • เดือนกันยายน Ready-To-Wear Fashion Week คอลเล็กชั่น Spring/Summer (เสื้อผ้าที่จัดแสดงจะวางขายเดือนมีนาคมปีถัดไป)

นอกจากนี้แบรนด์ยักษ์ใหม่มักจะมีแคปซูลคอลเล็กชั่น หรือคอลเล็กชั่นพิเศษที่ออกมาคั่นกลางระหว่างคอลเล็กชั่นหลัก ที่เรียกว่า Resort, Cruise Collection วางขายช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ส่วนคอลเล็กชั่น Pre-Fall จะวางขายช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม

4. แต่มีบางแบรนด์ที่จัดโชว์แบบชนซีซั่น

การเข้ามาของเทคโนโลยีทำให้คนทั่วโลกได้เห็นคอลเล็กชั่นใหม่ล่าสุดเพียงแค่คลิกเดียวบนอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดผลกระทบหลายอย่างต่อแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ซื้อเองไม่มีความตื่นเต้นหรือคิดว่าคอลเล็กชั่นที่จะวางขายอีก 6 เดือนข้างหน้าคือ “คอลเล็กชั่นใหม่” ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่คนทั่วไปกว่าจะได้เห็นเสื้อผ้าของแบรนด์ต่างๆ ก็ตอนที่ตีพิมพ์ในนิตยสารช่วงใกล้วางขายแล้ว อีกปัจจัยหลักที่ทำให้การจัดแฟชั่นเปลี่ยนไปคือเป็นช่องว่างที่ทำให้เกิดการก็อปปี้ได้ง่าย และบางชิ้นถูกก็อปปี้และวางขายหลังโชว์จบเพียงไม่กี่สัปดาห์

ทางออกที่ดีที่สุดของปัญหานี้คือการจัดแฟชั่นโชว์ตรงซีซั่น หรือเรียกว่า “See Now, Buy Now” ซึ่งหลังจากจบโชว์ เสื้อผ้าเหล่านั้นก็จะถูกวางขายทั้งทางออนไลน์และหน้าร้านทันที ซึ่งมีหลายแบรนด์ดังที่ได้ทำตามกลยุทธ์นี้

5. นอกเหนือจากเสื้อผ้าแล้ว สิ่งที่คนต่างรอคอยดูจากแบรนด์ดัง คือ “โชว์”

สิ่งที่ถูกคาดหวังจากคนดูนอกเหนือจากเสื้อผ้าแล้ว คือลูกเล่นต่างๆ ในแฟชั่นโชว์ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ ฉาก แสง สี เสียง นางแบบ ซึ่งแต่ละแบรนด์ต่างจัดเตรียมกันล่วงหน้าไม่แพ้การเตรียมเสื้อผ้า การจัดแฟชั่นโชว์แต่ละครั้ง จะใช้งบประมาณอย่างต่ำประมาณ $200,000 โดยเว็ปไซต์ Independent ของอังกฤษรายงานว่าแคทวอร์กของ Chanel คอลเล็กชั่น Cruise 2014-15 ที่จัดขึ้นที่ดูไบ ใช้งบประมาณไปถึง 1.4 ล้านปอนด์ เพื่อสร้างอาคารหลังใหม่ที่ใช้เวลาถึง 2 เดือน หรือโชว์ของ Louis Vuitton Fall/Winter 2012 ที่ลงทุนซื้อรถไฟราคา $8 ล้านเหรียญเพื่อนำมาประกอบแฟชั่นโชว์

6. แม้งบประมาณในการจัดแฟชั่นโชว์จะสูง แต่นางแบบส่วนใหญ่ไม่ได้ค่าจ้างจากการเดินแบบ

ค่าตัวของนางแบบในการเดินแบบ 1 โชว์จะอยู่ที่ $0 – $20,000 ซึ่งขึ้นอยู่กับแบรนด์และความดังของตัวนางแบบเอง ถ้าหากเป็นซูเปอร์โมเดลระดับโลก อาจจะทำเงินได้สูงถึง 5 หลักเพียงเดินแฟชั่นโชว์เดียว แต่สำหรับนางแบบหน้าใหม่ส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับตอบแทนเป็นตัวเงิน แต่จะถูกจ่ายค่าตอบแทนเป็นสินค้าของแบรนด์นั้นๆ และสิ่งที่ได้มานอกเหนือจากเงินหรือสินค้าคือโปรไฟล์ที่ดีที่สามารถนำไปต่อยอดสู่งานอื่นๆ ได้ จึงไม่ต้องแปลกใจที่จะมีนางแบบจากทั่วโลกเข้ามาแคสติ้งกับแบรนด์ดังๆ กว่าหลายพันคนเพื่อให้ได้เดินแฟชั่นโชว์และรับกระเป๋ากลับบ้าน

7. ก้าวใหม่ของแบรนด์ดัง

การย้ายเข้า ย้ายออกของเหล่าดีไซเนอร์กับแบรนด์ดัง กลายเป็นปรากฏการณ์ที่สั่นสะเทือนวงการแฟชั่นมาตั้งแต่ต้นปี ซึ่งคอลเล็กชั่นที่กำลังจะโชว์ในไม่กี่วันข้างหน้านี้ ถือเป็นคอลเล็กชั่นแรกที่จะพิสูจน์ฝีมือของดีไซเนอร์ชื่อดังหลายคนที่เพิ่งกระโดดเข้ามารับตำแหน่งใหม่กับแบรนด์ดัง ซึ่งมีอย่างน้อย 6 แบรนด์ที่คุณควรจับตามอง ได้แก่

– Burberry ที่ได้ Riccardo Tisci มาเป็นครีเอทีฟไดเร็กเตอร์ พร้อมการโปรโมตสุดอลังการ

– Celine กับ Hedi Slimane ผู้ที่เคยตัด Yves ออกจาก Saint Laurent จนประสบความสำเร็จ มาดูกันว่าบ้านใหม่หลังนี้ Hedi จะทำได้อีกมั้ย

 

Source : 1, 2, 3, 4, 5

ติดตาม Jeab.com
Jeab.com มี LINE แล้วนะ
ติดตามเรื่องราวไลฟ์สไตล์ทันสมัยสำหรับผู้หญิงยุคดิจิตอล ได้ทุกวันผ่าน LINE ID @jeabdotcom

UPSTERRR!

FASHION IMITATES LIFE, LIFE IMITATES ART.

No Comments Yet

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>


This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.